วันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2556

 การเรียนครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี  ที่ 21 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556

ลักษณะความผิดปกติซึ่งจัดอยู่ในความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพนั้นมีความแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้เพราะเกิดจากสาเหตุที่หลากหลาย เช่น โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)  เกิดจากความบกพร่องทางการเจริญเติบโตของสมอง ในขณะที่ความผิดปกติของร่างกายและสุขภาพอื่นๆ อาจเกิดได้จากปัจจัยทางพันธุกรรม หรือเป็นผลจากอุบัติเหตุ 
 ความบกพร่องทางสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามลักษณะที่ปรากฏ ดังนี้
 1.ความผิดกติของระบบประสา (Neurological conditions) ได้แก่
   - ซีพี Cerebral Palsy แขนขาลีบ เป็นอัมพาตเนื่องจากสมองพิการสองถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด และหลังคลอด เคลื่อนไหว พูด เดินช้ามาก
  -กล้ามเนื้ออ่อนแรง Muscular Distrophy เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นอนอยู่กับที่ พิการซ้อนในระยะหลังมีอัตราเสี่ยงต่อการสูญเสียความจำ
   -โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ Orthopedio ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อน เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส แบตทีเรีย กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
   - โปลิโอ มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เกิดจากเชื้อไวรัสที่เข้าทางปาก จากการกินน้ำ กินอาหาร ส่วนมากจะเกิดที่ขามากกว่า ยืนไม่ได้ อาจช่วยด้วยอุปกรณ์เสริม อาการเริ่มแรกปวดหัว ปวดท้อง ปวดแขนปวดขาปวดหลัง ขาแข็ง แขนขาด้วนแต่กำเนิด
   - โรคกระดูกอ่อน Osteogenesis Imperfeta ร่างกายไม่สมส่วน ช่วงตัวถึงไหล่จะสั้น สะโพกลงไปถึงขาจะยาว พัฒนาช้ามากโตช้า
2.ความผิดปกติทางสุขภาพ (Health impairments) ได้แก่
  -โรคลมชัก เป็นลักษณะของความผิดปกติทางสมอง
     1. ลมบ้าหมู เมื่อเกิดอาการชักจะหมดสติและหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อจะเกร็งแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น ควรใช้ผ้าให้เด็กกัดเหมาะทีสุด
     2. การชักในช่วงเวลาสั้นๆ เป็นอาการชักชั่วระยะสั้นๆ 5-10 นาที เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก เด็กจะนั่งเฉยหรือตัวสั่นเล็กน้อย
     3. การชักแบบรุนแรง เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหายและนอนหลับไปชั่วครู่
     4. อาการชักแบบ Partial complex  เกิดอาการเป็นระยะๆ กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
     5. อาการไม่รู้ตัว อาการเกิดขึ้นในระยะสั้น ไม่รู้สึกตัว อาจทำอะรบางอย่าง โดยไม่รู้ตัว เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เหม่ลอย แต่ไม่มีอาการชัก
3.เด็กที่มีความบกพร่องทางกระดูกและภาษา
     - เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน มีอาการผิดปกติขณะที่พูด
     1. เด็กผิดปกติด้านการออกเสียง ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำ โดยไม่จำเป็น ออกเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง
     2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของอาการพูด เช่น การพูดติดอ่าง
     3. ความผิดปกติด้านเสียง ระดับเสียง ความดัง คุณภาพของเสียง
     4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไม่เรียกว่า Dysphasia
        

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การเรียนครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี  ที่ 14 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2556    

อาจารย์อธิบายความหมายเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Child with Special Needs)
 - เด็กพิเศษประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
    1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง  (กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป)
    2.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะบกพร่อง  กระทรวงศึกษาธิการแบ่งออกเป็น  9  ประเภท ดังนี้
         2.1.) เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา  
         2.2.) เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน  
         2.3.) เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น  
         2.4.) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ  
         2.5) เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา  
         2.6.) เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์  
         2.7.) เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
         2.8.)เด็กออทิสติก(รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
         2. 9.) เด็กพิการซ้ำซ้อน